
งานวิจัยเกี่ยวกับ
ขันทิเบต
มีงานวิจัยเกี่ยวกับผลของขันทิเบตมาฝากค่ะ
ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการนำคลื่นเสียง
จากขันทิเบตไปใช้เป็นทางเลือกหรือตัวเสริม
การรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันมากมาย
อ่านแล้ว...คุณจะทึ่งในพลังเยียวยา
ของขันทิเบตนะคะ
ผลของขันทิเบต
ในฐานะยาเสริมการบำบัดผู้ป่วย
ซึมเศร้า
อ่านงานวิจัยได้จากไฟล์ด้านล่าง
งานทำในปี 2018 วิจัยว่า คลื่นเสียงบำบัดมีผลช่วยหมอแผนปัจจุบันบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้หรือไม่
โดยให้กลุ่มทดลองได้รับคลื่นเสียงเป็นเวลา 30 นาที/ ครั้ง/ สัปดาห์
ติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์
เป็นการเล่นขันทิเบต 7 ใบ
ผลการทดลองออกมาว่า คลื่นเสียงจากขันช่วยบำบัดผู้ป่วยซึมเศร้าได้จริง
รายละเอียดในงานวิจัยพบว่า
1.ผู้รับรู้สึกถึงคลื่นเสียงและความสั่นสะเทือนทางกายในร่างกาย
2.ผู้รับตระหนักรู้ได้ถึงพลังงานอันละเอียดอ่อน รู้สึกได้ถึงการเยียวยา
3. มีบางคนความรู้สึกไม่สบายชั่วคราว แต่ก็ตระหนักว่าเป็นการขับพิษออกจากร่างกาย
4.อาการทางลบลดลง และ/หรือสภาพจิตใจในเชิงบวกเพิ่มขึ้น
5. ลดความคิดฟุ้งซ่าน
6. มีสติ ตระหนักรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในตนเอง ภาพในหัวชัดเจนขึ้น
7. การตอบโต้แบบปฏิกิริยาลดลง การควบคุมตนเองเพิ่มขึ้น
8. ผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์เชิงบวกกับคลื่นเสียงบำบัด
9. ผู้เข้าร่วมรู้สึกเศร้าที่ต้องยุติคลื่นเสียงบำบัด หลังจาก 4 สัปดาห์
10. การบำบัดด้วยเสียงเป็นส่วนเสริมของจิตบำบัดได้จริง
11.การบำบัดด้วยเสียงเป็นส่วนเสริมที่เป็นประโยชน์ต่อจิตบำบัด
การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของการอาบเสียงขันทิเบตกับดัชนีความเครียด
และความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ
งานวิจัยนี้ทำในปี 2019 ผลการวิจัยพบว่า เสียงจากขันทิเบตสามารถใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นการตอบสนองต่อคลื่นเสียง และทำให้เกิดการผ่อนคลายอย่างมีคุณภาพ (กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ + ลดความเครียด)
ในงานวิจัย กลุ่มทดลองได้รับการอาบเสียงเป็นเวลาเพียง 20 นาทีแต่ได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพอย่างมาก
อ่านงานวิจัยได้จากไฟล์นี้
การวัดผลของ
ขันทิเบตต่อ
การทำสมาธิ :
วิจัยเชิงปริมาณ
การศึกษาเชิงปริมาณครั้งนี้ออกแบบมาเพื่อวัดผลทางร่างกายและจิตใจ ของการ
สัมผัสขันทิเบตก่อนนำผู้รับเข้าสู่การผ่อนคลายโดยตรง (Direct Relaxation)
ผู้เข้าร่วมทั้งชายและหญิง วัยผู้ใหญ่ 51 คนเข้าร่วมรับคลื่นเสียง 2 ครั้ง ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน
เมื่อสิ้นสุดทั้งสองช่วง ผู้เข้าร่วมได้รับประสบการณ์เข้าสู่สภาพการทำสมาธิ, ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่เพิ่มขึ้น และความดันโลหิตที่ลดลง
อ่านงานวิจัยได้จากไฟล์ด้านล่าง
ผลของการได้รับเสียงจากขันทิเบตต่อระดับความง่วง
โดยภาควิชาประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อินส์บรูค เมืองอินส์บรูค ประเทศออสเตรีย
ภาควิชารังสีรักษาและเนื้องอกวิทยา มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อินส์บรูค เมืองอินส์บรูค ประเทศออสเตรีย
ภาควิชาประสาทวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเคปลอร์ เมืองลินซ์ ประเทศออสเตรีย
การวิจัยพบว่าเสียงขันทิเบต (struck singing bowl) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกง่วงมากขึ้น (subjective sleepiness) อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อประเมินด้วย แบบสอบถาม Karolinska sleepiness scale เทียบกับการผ่อนคลายแบบไม่มีเสียง