top of page
Writer's pictureJittinan Nanthapaiboon

นอนไม่หลับ อันตรายกว่าที่คิด ควรรักษาก่อนสายเกินไป


คนที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงมีความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด มากกว่าคนที่นอน 7 ชั่วโมงเป็น 2 เท่า

แพทย์ออกมาเตือนภัยภาวะโรคนอนไม่หลับมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ควรรักษาก่อนที่จะสายเกินแก้

ปัจจุบันแนวโน้มปัญหานอนไม่หลับเพิ่มมากขี้นเรื่อยๆ ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรทั่วไปเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ และร้อยละ 6 ถึง 10 ของประชากรมีปัญหาการนอนไม่หลับรุนแรงถึงขั้นต้องได้รับการรักษา

ปัญหาการนอนไม่หลับเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การรบกวนจากอาการของโรคทางกายเช่น อาการปวด ปัสสาวะบ่อยกลางคืน และจากโรคทางจิตเวชเช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคอารมณ์ซึมเศร้า

ผู้ป่วยหลายรายที่มีปัญหาการนอนไม่หลับมาจากพฤติกรรมการนอนและสิ่งแวดล้อมก่อนนอนที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดการนอน เช่นมีความสว่างมากไป มีเรื่องคิดรบกวนก่อนนอนมาก เข้านอนตื่นนอนไม่เป็นเวลา เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไปมีอัตราเสี่ยงสูงขึ้นเนื่องจากมีฮอร์โมนเมลาโทนินลดลง เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้เกิดการนอนหลับซึ่งแตกต่างไปจากยานอนหลับทั่วไป

ผศ.นพ. สุรชัย เกื้อศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และผู้อำนวยการคลินิกปัญหาการนอนโรงพยาบาล มนารมย์ เปิดเผยว่า ปัญหาอาการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้สำหรับคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นช่วงของการนอนหลับจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน และผู้สูงอายุช่วงเวลาของการนอนหลับลึกจะน้อยกว่าผู้ที่อยู่ในช่วงเด็ก หรือวัยรุ่นอีกทั้งผู้สูงอายุยังมีโอกาสเสี่ยงต่อปัจจัย อื่นๆ ที่กระทบต่อการนอนหลับได้มากกว่า เช่น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ภาวะทางจิตใจ ภาวะเครียดเป็นต้นในขณะที่รายงานการวิจัยพบว่าความต้องการในการนอนหลับของคนเราคงที่ตลอดช่วงชีวิต คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ไม่ว่าในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ในช่วงวัยทองแล้วก็ตาม

จากรายงานการศึกษาในปี 2010 ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อ Sleep โดยทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนียซึ่งทำการวิจัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนจำนวน 30,397 คน พบว่า จำนวนชั่วโมงการนอนหลับมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะคนที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนที่นอน 7 ชั่วโมงเป็น 2 เท่า โดยความเสี่ยงจะสูงขึ้นในผู้หญิงและในคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จึงนับเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับหรืออดนอน

หรือจากรายงานการสำรวจประชากร 52,000 ราย ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมโรคหัวใจอเมริกันพบว่าผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับเกือบทุกคืน จะเพิ่มโอกาสของการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) สูงขึ้นเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์

ผศ.นพ.สุรชัย กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับจึงควรแก้ไขรักษาตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการเรื้อรัง และอาจช่วยไม่ให้มีปัญหาโรคแทรกซ้อนเกิดตามมา

ในปัจจุบัน มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาหรือบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ แต่ยาเหล่านั้นก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ อาการเพลีย และอาจรู้สึกง่วงซึมได้ในวันถัดไป รวมทั้งปัญหาการดื้อยาทำให้ต้องรับประทานยาเพิ่มขนาดขึ้นไปเรื่อยๆและอาจมีอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าเดิมเกิดขึ้นหลังจากการหยุดยาอย่างกะทันหัน


จะดีกว่าไหมหากมีตัวเลือกที่อ่อนโยนต่อร่างกาย ไม่ใช้ยาหรือสารเคมีใด ๆ


ตัวเลือกดังกล่าวคือ "คลื่นเสียงบำบัด" นั่นเอง


การเยียวยาอาการนอนไม่หลับโดยใช้คลื่นเสียงบำบัดจากขันทิเบต ครูบิ๊กจะใช้เทคนิคการวางขันทิเบตที่มีคลื่นความถี่ต่างๆ กันไว้บริเวณศีรษะ แล้วตีหรือเคาะด้วยไม้ที่มีขนาดและวัสดุต่างกัน ผู้รับการบำบัดภาวนาด้วยการออกเสียงไปพร้อมกับการสั่นสะเทือนของขัน ให้ผลลัพธ์เป็นความสงบและผ่อนคลายทั้งกายใจ


การนอนรับคลื่นเสียงแบบนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ "อาบเสียง" (Sound bath) ซึ่งก็สื่อความหมายได้ดี ว่ามันคล้ายกับการ "อาบน้ำ" แต่เป็นการ "อาบเสียง" แทนนั่นเอง


การอาบเสียงแต่ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง บำบัด 3 ครั้งก็จะเห็นผล แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์


หลังการบำบัดครั้งแรก ท่านจะเห็นผลที่ชัดเจนคือ ท่านหลับได้ดีขึ้น เวลาในการหลับก็เลื่อนเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เดิมกระสับกระส่าย ไม่หลับเลยทั้งคืน ท่านก็อาจจะหลับไปในเวลาตีสาม


เมื่อบำบัดครั้งที่สอง จะหลับได้ในเวลาประมาณเที่ยงคืน และจะค่อยๆ เร็วขึ้นจนเป็นปกติ


สำหรับผู้ที่ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อยาก หลังจากบำบัดครั้งแรกก็จะเห็นผลค่ะ ว่าท่านจะนอนหลับต่อได้ง่ายขึ้น


หากสนใจรับคลื่นเสียงบำบัดด้วยขันทิเบต ติดต่อได้ที่บ้านเสียงรักษา หมู่บ้านเมืองเอกนะคะ Line ID : teacherbik หรือเบอร์ 081-741-8141 ค่ะ www.bangkoksoundhealing.com



2 views0 comments

Commentaires


bottom of page